งานเสวนา Cultural Wisdom for Climate Action: The Southeast Asian Contribution

งานเสวนา Cultural Wisdom for Climate Action: The Southeast Asian Contribution ที่จัดขึ้นเมื่อต้นปี โดยสยามสมาคมในพระบรมราชูปถัมภ์ ร่วมกับสมาคมมรดกวัฒนธรรมแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEACHA) ประสบความสำเร็จอย่างมาก ทำให้ทั้งสององค์กรได้รับเชิญให้เข้าร่วมการประชุม UN Climate Change Conference ที่กำลังจะจัดขึ้นที่สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์

ที่ปรึกษาคณะกรรมการ และผู้อำนวยการสมาคมมรดกวัฒนธรรมแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEACHA)
กรุงเทพฯ 26 มิถุนายน 2566 – ผู้ทรงคุณวุฒิหลายท่านได้พูดคุยหารือกัน ในประเด็นคำถามที่ว่า “มรดกทางวัฒนธรรมจะสามารถมีบทบาทในฐานะเครื่องมือหรือทางออกให้กับปัญหาการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศได้หรือไม่” ในงานเสวนาของสยามสมาคมในพระบรมราชูปถัมภ์ และสมาคมมรดกวัฒนธรรมแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ณ กรุงเทพมหานคร
เมื่อวันที่ 12-14 มกราคม ที่ผ่าน เหล่านักวิชาการ นักเคลื่อนไหว กลุ่มคนผู้ขับเคลื่อนสังคมที่มีชื่อเสียง และคนรุ่นใหม่จากกลุ่มประเทศอาเซียน ได้ร่วมกันเสนอว่าภูมิปัญญาท้องถิ่นของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้สามารถมีส่วนช่วยในการหาวิธีรับมือการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ


เป้าหมายหลักของการประชุมเสวนาครั้งนี้ คือการยกระดับประเด็นที่นำเสนอในงานให้ไปสู่ระดับภูมิภาคและระดับการกำหนดนโยบายในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตัวชี้วัดสำคัญของความสำเร็จในการประชุมครั้งนี้ที่ไปไกลกว่าระดับภูมิภาค คือการที่ Climate Heritage Network (CHN) ได้เชิญสยามสมาคมฯ และ SEACHA ให้เป็นประธานคณะจัดงานร่วมกับ Petra National Trust (PNT) เพื่อนำเสนอบทบาทของ “ภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม” ในงาน UN Climate Change Conference – COP 28 ปี 2023 ซึ่งจะจัดขึ้นที่สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ในปลายปีนี้ คุณกนิษฐา กสิณอุบล กรรมการผู้จัดการของสยามสมาคมฯ กล่าวว่า “คำเชิญดังกล่าวเน้นย้ำถึงความสำคัญของการประชุมเสวนาเรื่อง Cultural Wisdom for Climate Action ที่เราได้จัดขึ้นก่อนหน้า และทำให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของสยามสมาคมฯ และ SEACHA ในการแก้ปัญหานี้ในทุกระดับ ทั้งระดับชาติ ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และระดับโลก”

โดยตลอดงานทั้งสามวัน ผู้เข้าร่วมได้รับฟังวิธีการรับมือกับปัญหาการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศในรูปแบบใหม่ๆ ผ่านการเสวนาที่เสนอว่าภูมิปัญญาท้องถิ่นและมรดกทางวัฒนธรรม สามารถเป็นแนวทางในการสร้างแผนยุทธศาสตร์รับมือกับการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศของกลุ่มประเทศอาเซียน ศ. ดร.ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ ผู้อำนวยการศูนย์ข่าวสารสันติภาพ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และกีรตยาจารย์แห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สาขาสังคมศาสตร์ ได้ให้เกียรติเปิดการประชุมด้วยการนำเสนอหัวข้อ “From the floating lotus to Groot’s wisdom: Engaging contemporary ecological challenges with Southeast Asian cultures”


จากนั้นผู้เข้าร่วมการเสวนาได้พูดคุยกัน ในหัวข้อตั้งแต่ประเด็นทั่วไป เช่น การดำรงชีวิตกับสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน และการขยายตัวของเมืองและสิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้น ไปจนถึงประเด็นที่ลึกซึ้งและทำให้ฉุกคิด ซึ่งมักไม่ค่อยได้รับการพูดถึงในการเสวนาเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ เช่น ความเชื่อมโยงทางจิตวิญญาณกับธรรมชาติและการรับมือการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ ผู้เข้าร่วมการเสวนาได้มีโอกาสรับฟังมุมมองการประยุกต์ใช้ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น การใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืน วิถีการออกแบบของชนพื้นเมือง และโครงสร้างทางสังคมในท้องถิ่น เพื่อให้ความรู้และเปิดประเด็นเสวนาเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ

นอกจากนี้งานเสวนา The Cultural Wisdom for Climate Action ยังเปิดโอกาสให้เยาวชนคนรุ่นใหม่ได้มีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นในประเด็นนี้ นายโจชัว อานัค เบลายัน เยาวชนของ SEACHA จากประเทศบรูไนเป็นผู้เริ่มงานเสวนา และยังมีการเสวนาช่วงอื่นๆ ที่ได้เยาวชน SEACHA จากหลายประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มาเป็นทั้งผู้บรรยาย และผู้ดำเนินการเสวนา
ความสำเร็จของงานเสวนา The Cultural Wisdom for Climate Action และ คำเชิญให้ไปต่อยอดประเด็นที่นำเสนอในงานเสวนาครั้งนี้ ที่การประชุม UN Climate Change Conference ได้สะท้อนถึงเป้าหมายขององค์กรผู้จัดงาน ที่ต้องการจะสร้างบทสนทนาที่คำนึงถึงภูมิปัญญาท้องถิ่น และสนับสนุนความมุ่งมั่นของกลุ่มเยาวชนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ผู้จะมากำหนดทิศทางของโลกในภายภาคหน้า
สยามสมาคมในพระบรมราชูปถัมภ์
สยามสมาคมในพระบรมราชูปถัมภ์เป็นองค์กรทางวัฒนธรรมของไทยที่มีขอบเขตการทำงานระดับสากล ทำหน้าที่ส่งเสริมการศึกษา และแบ่งปันความรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ ศิลปะ และการอนุรักษ์มรดกวัฒนธรรมของไทยและของประเทศใกล้เคียงในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สามารถเข้าชมเว็บไซต์เพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับกิจกรรมของสยามสมาคมฯ และการสมัครสมาชิกได้ที่ https://thesiamsociety.org/
สมาคมมรดกวัฒนธรรมแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEACHA)
องค์กรนี้ก่อตั้งขึ้นเพื่อมุ่งหวังให้เกิดการร่วมมือกันระหว่างภาครัฐบาล ประชาชน และ หน่วยงานภาคธุรกิจต่างๆ โดยมีเป้าหมายรังสรรค์นโยบายการพิทักษ์มรดกทางวัฒนธรรม และคิดหาแนวทางการรักษามรดกทางวัฒนธรรมของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เพื่อคนรุ่นหลัง สามารถเรียนรู้เกี่ยวกับที่มา กิจกรรม และเป้าหมายของ SEACHA ได้ที่ https://seacha.org/

ที่ปรึกษาคณะกรรมการ และผู้อำนวยการสมาคมมรดกวัฒนธรรมแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEACHA) (จากซ้ายไปขวา): คุณ James Stent (ที่ปรึกษาคณะกรรมการ SEACHA, ประเทศไทย) คุณ Nguyen Duc Tang (ที่ปรึกษาคณะกรรมการ SEACHA, ประเทศเวียดนาม) คุณ Khoo Salma Nasution (รองประธาน SEACHA, ประเทศมาเลเซีย) ดร. Catrini Pratihari Kubontubuh (ประธาน SEACHA, ประเทศอินโดนีเซีย) คุณ Kanitha Kasina-Ubol (ผู้อำนวยการ SEACHA, ประเทศไทย) ดร. Ivan Anthony Henares (ผู้อำนวยการ SEACHA, ประเทศฟิลิปปินส์) คุณ Moe Moe Lwin (รองประธาน SEACHA, ประเทศเมียนมา) คุณ Gretchen Worth (ที่ปรึกษาคณะกรรมการ SEACHA, ประเทศไทย) และ ดร. Johannes Widodo (ปรึกษาคณะกรรมการ SEACHA, ประเทศสิงคโปร์)

คุณพิไลพรรณ สมบัติศิริ ประธานสยามสมาคมฯ และ SEACHA กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมงานเลี้ยงต้อนรับวิทยากร

ศ. ดร.ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ ผู้อำนวยการศูนย์ข่าวสารสันติภาพ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และกีรตยาจารย์แห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สาขาสังคมศาสตร์ กล่าวปาฐกถาเปิดงานสัมมนา กล่าวสุนทรพจน์เปิดงาน

งานเลี้ยงต้อนรับวิทยากร ณ บ้านปาร์คนายเลิศ วันที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2566

การแสดงทางวัฒนธรรม สนับสนุนโดยสถานเอกอัครราชทูตอินโดนีเซีย

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมกรุณาติดต่อ
ทีคิวพีอาร์ (ประเทศไทย)
นุ้ย ฐิติชยาภรณ์ I [email protected] I 662 260 5820ป